Last updated: 13 Mar 2023 | 889 Views |
กลไกราคาเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ใช้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
แอดมินสรุปประเด็นสำคัญจากงานสัมมนา TGO องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกมาฝากกันครับ
ในหัวข้อที่น่าสนใจคือ “นโยบายด้าน Climate Change ของประเทศไทย และแนวทางการดำเนินงาน Post-COP26” โดย นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เป็นประธานเปิดการสัมมนาและแสดงวิสัยทัศน์
สรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องเรื่อง กลไกราคาคาร์บอน
CARBON PRICING FOR CLIMATE ACTIONS คือ หลักการที่ทำให้ผู้ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ไม่ว่าจะเป็น บุคคล องค์กร หรือ กิจกรรมต่าง ๆ) รับผิดชอบต่อการปล่อยของตัวเองด้วยราคานั้น เช่น ต้องการให้คนปล่อยจ่ายด้วยราคาเท่าไร โดยราคาจะเทียบจาก Carbon Cost of Social: CCS ประเมินความเสี่ยงว่าคาร์บอนฯ 1 ตันคาร์บอน ที่เราปล่อยเพิ่มขึ้นจะทำให้โลกเรามีความเสี่ยงต่อวิบัติภัยต่าง ๆ ด้วยราคาเท่าไร บางเคสถูกประเมินว่า 1 ตันคาร์บอน มีมูลค่าสูงไปถึง 260$ ต่อตันคาร์บอน ที่เป็นความเสี่ยงไปจนถึงปี 2100
“เราเสียเท่าไรก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไร” ถ้าไม่เริ่มทำอะไรก็จะมีการปล่อยก๊าซเยอะ เมื่อมีการปล่อยก๊าซเยอะกส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น สุดท้ายก็ส่งผลกับต้นทุนของผู้ประกอบการอยู่ดี โดยคำนวณจากต้นทุนต่อสังคมที่เสียหาย (Social Cost of Carbon) กับต้นทุนที่เราต้องลดการปล่อย (Abatement Cost)
“Loss ของการที่ไม่ทำอะไร มีมูลค่าหลาย ล้านๆ ยูเอสดอลลาร์ เมื่อเทียบกับ Climate Action Cost ที่เราใส่เข้าไป” กระบวนการที่ทำให้คนรับผิดชอบต้องทำอย่างไร? ซึ่งตอนนี้เมืองไทยของเรายังไม่มี Policy ที่สามารถรองรับการมุ่งไปสู่การเป็น Carbon Neutrality ออกมาชัดเจน ซึ่งเบื้องต้นอาจจะใช้หลักของการค้าก็ได้ เช่น
• ใช้ Carbon Border Adjustment ใครก็ตามที่ปล่อยก็จะส่งออกยาก
• ถ้าใครปล่อยเยอะจะจำกัดการสนับสนุนด้านการเงิน เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้าที่ใช้ฟอสซิล
• มาตรการ ESG* นักลงทุนจะไม่ลงทุนบนองค์กรของเรา ถ้าเราไม่มีการลดก๊าซเรือนกระจก หรือไม่ได้จ่าย Carbon Pricing
*ESG คือ แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Environmental, Social, and Governance) โดยอาศัยแนวทางขับเคลื่อนที่สำคัญคือ
1. มาตรการวันนี้ รัฐก็ประกาศออกมาว่ามีกฎหมายแน่ ๆ เรื่อง พรบ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอเข้าครม.เพื่อนำเป้านี้ไปใส่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 เพื่อให้เป็นยุทธศาสตร์ชาติ
2. เน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนเพื่อสร้างการรับรู้ เพื่อให้ลดต้นทุนและร่วมกันมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายได้เร็วขึ้น
3. ในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ควรวางเป้าไปที่กระทรวงอว. สำหรับเป็นรากฐานที่สำคัญในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาในประเทศไทย ให้สอดคล้องกับทิศทางของ Climate Action ก็คือ ต้องศึกษาวิจัยที่สามารถรองรับได้ว่าการการทำเพื่อลดคาร์บอนสามารถลดต้นทุนของผู้ประกอบการได้ ซึ่งครอบคลุมไปถึงการดักจับคาร์บอน (Carbon capture), การปลูกป่า (Reforestration), และ คาร์บอนซิงค์ (Carbon Sink)
4. งบประมาณและการลงทุน หากเราต้องการจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยต้องใช้เงินทุน และดูเรื่องการสนับสนุนจากกองทุนต่างประเทศด้วย เพื่อส่งเสริมให้โครงการดี ๆ เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังรวมถึงเรื่องภาษีด้วย ภาษีคาร์บอนก็เป็นเรื่องที่จำเป็น
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถรับชมการสัมมนาย้อนหลังได้ที่
https://fb.watch/a03JnPjC3W/
ที่มาข้อมูล : TGO องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก