สรุปประเด็นสำคัญจากงานสัมมนา TGO องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

Last updated: 13 มี.ค. 2566  |  766 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สรุปประเด็นสำคัญจากงานสัมมนา TGO องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

กลไกราคาเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ใช้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

แอดมินสรุปประเด็นสำคัญจากงานสัมมนา TGO องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกมาฝากกันครับ

ในหัวข้อที่น่าสนใจคือ “นโยบายด้าน Climate Change ของประเทศไทย และแนวทางการดำเนินงาน Post-COP26” โดย นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เป็นประธานเปิดการสัมมนาและแสดงวิสัยทัศน์


สรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องเรื่อง กลไกราคาคาร์บอน

CARBON PRICING FOR CLIMATE ACTIONS คือ หลักการที่ทำให้ผู้ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ไม่ว่าจะเป็น บุคคล องค์กร หรือ กิจกรรมต่าง ๆ) รับผิดชอบต่อการปล่อยของตัวเองด้วยราคานั้น เช่น ต้องการให้คนปล่อยจ่ายด้วยราคาเท่าไร โดยราคาจะเทียบจาก Carbon Cost of Social: CCS ประเมินความเสี่ยงว่าคาร์บอนฯ 1 ตันคาร์บอน ที่เราปล่อยเพิ่มขึ้นจะทำให้โลกเรามีความเสี่ยงต่อวิบัติภัยต่าง ๆ ด้วยราคาเท่าไร บางเคสถูกประเมินว่า 1 ตันคาร์บอน มีมูลค่าสูงไปถึง 260$ ต่อตันคาร์บอน ที่เป็นความเสี่ยงไปจนถึงปี 2100


    “เราเสียเท่าไรก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไร” ถ้าไม่เริ่มทำอะไรก็จะมีการปล่อยก๊าซเยอะ เมื่อมีการปล่อยก๊าซเยอะก็ส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น สุดท้ายก็ส่งผลกับต้นทุนของผู้ประกอบการอยู่ดี โดยคำนวณจากต้นทุนต่อสังคมที่เสียหาย (Social Cost of Carbon) กับต้นทุนที่เราต้องลดการปล่อย (Abatement Cost)


    “Loss ของการที่ไม่ทำอะไร มีมูลค่าหลาย ล้านๆ ยูเอสดอลลาร์ เมื่อเทียบกับ Climate Action Cost ที่เราใส่เข้าไป” กระบวนการที่ทำให้คนรับผิดชอบต้องทำอย่างไร? ซึ่งตอนนี้เมืองไทยของเรายังไม่มี Policy ที่สามารถรองรับการมุ่งไปสู่การเป็น Carbon Neutrality ออกมาชัดเจน ซึ่งเบื้องต้นอาจจะใช้หลักของการค้าก็ได้ เช่น


• ใช้ Carbon Border Adjustment ใครก็ตามที่ปล่อยก็จะส่งออกยาก
• ถ้าใครปล่อยเยอะจะจำกัดการสนับสนุนด้านการเงิน เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้าที่ใช้ฟอสซิล
มาตรการ ESG* นักลงทุนจะไม่ลงทุนบนองค์กรของเรา ถ้าเราไม่มีการลดก๊าซเรือนกระจก หรือไม่ได้จ่าย Carbon Pricing

*ESG คือ แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Environmental, Social, and Governance) โดยอาศัยแนวทางขับเคลื่อนที่สำคัญคือ
1.     มาตรการวันนี้ รัฐก็ประกาศออกมาว่ามีกฎหมายแน่ ๆ เรื่อง พรบ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอเข้าครม.เพื่อนำเป้านี้ไปใส่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 เพื่อให้เป็นยุทธศาสตร์ชาติ
2.   เน้นการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนเพื่อสร้างการรับรู้ เพื่อให้ลดต้นทุนและร่วมกันมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายได้เร็วขึ้น
3.   ในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ควรวางเป้าไปที่กระทรวงอว. สำหรับเป็นรากฐานที่สำคัญในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาในประเทศไทย ให้สอดคล้องกับทิศทางของ Climate Action ก็คือ ต้องศึกษาวิจัยที่สามารถรองรับได้ว่าการการทำเพื่อลดคาร์บอนสามารถลดต้นทุนของผู้ประกอบการได้   ซึ่งครอบคลุมไปถึงการดักจับคาร์บอน (Carbon capture), การปลูกป่า (Reforestration), และ คาร์บอนซิงค์ (Carbon Sink)
4.  งบประมาณและการลงทุน หากเราต้องการจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยต้องใช้เงินทุน และดูเรื่องการสนับสนุนจากกองทุนต่างประเทศด้วย เพื่อส่งเสริมให้โครงการดี ๆ เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังรวมถึงเรื่องภาษีด้วย ภาษีคาร์บอนก็เป็นเรื่องที่จำเป็น


สำหรับผู้ที่สนใจสามารถรับชมการสัมมนาย้อนหลังได้ที่
https://fb.watch/a03JnPjC3W/
ที่มาข้อมูล : TGO องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
   

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้