เทคโนโลยีการตรวจหาไฟป่ารวมถึงร่องการเผาไหม้จากภาพถ่ายดาวเทียม

Last updated: 13 มี.ค. 2566  |  989 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เทคโนโลยีการตรวจหาไฟป่ารวมถึงร่องการเผาไหม้จากภาพถ่ายดาวเทียม

ช่วงนี้ของทุกๆ ปี พื้นที่ภาคเหนือจะมีปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นฝุ่นละอองที่มาจากการเผาป่านั่นเองนะครับ แต่ปีนี้ดีหน่อยที่มีฝนตกค่อนข้างบ่อย เลยสามารถบรรเทาเรื่องมลพิษไปได้เยอะเลย

วันนี้แอดมินจะมาเล่าถึงเทคโนโลยีการตรวจหาไฟป่ารวมถึงร่องการเผาไหม้จากข้อมูลระยะไกลโดยใช้อุปกรณ์การตรวจที่ติดตั้งอยู่บนดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ซึ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทในการตรวจหาไฟในพื้นที่ประเทศไทยมาสักระยะหนึ่งแล้ว เนื่องจากช่วยให้สามารถตรวจการณ์พื้นที่ได้อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ และใช้เวลาที่น้อยกว่าคนสำรวจนะครับ

แอดขอยกตัวอย่าง ภาพจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรวงโคจรต่ำ Landsat-9 ที่เพิ่งปล่อยมาใหม่ ๆ มาแสดงให้ดูเลยนะครับ โดยภาพด้านบนนี้เป็นภาพของวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 โดยภาพแรก (ภาพบน) แสดงการผสมสีธรรมชาติด้วยช่วงคลื่นสี แดง ด้วย Red, เขียว ด้วย Green, และน้ำเงินด้วย Blue ซึ่งเป็นการแสดงลักษณะของสิ่งปกคลุมดินจากภาพถ่ายดาวเทียมที่คล้ายกับการมองเห็นของมนุษย์ ทีนี้จากรูปนี้เราก็จะเห็นแต่ควันไฟปกคลุมในพื้นที่ส่วนที่เกิดไฟป่าใช่มั้ยครับ ซึ่งภาพนี้จะยังไม่เห็นไฟที่อยู่ด้านล่าง

ดังนั้นเอาใหม่ ภาพเดียวกับข้างบนเลยนะครับ แอดผสมสีใหม่โดยต้องการเน้นพื้นที่มีอุณภูมิสูงให้เด่นชัดขึ้นมา ด้วยช่วงคลื่นสี แดง ด้วย SWIR2, เขียว ด้วย SWIR1, และน้ำเงิน ด้วย Red (ภาพล่าง) ทีนี้เราจะเห็นไฟที่กำลังเผาได้อย่างชัดเจนแล้ว ที่เป็นจุดหรือพื้นที่สีแดง ๆ รวมถึงพื้นที่ที่ได้ถูกเผาไหม้ไปแล้ว แสดงเป็นพื้นที่สีดำ ๆ ที่เรียกว่า ร่องรอยการเผาไหม้ จะเห็นได้ชัดเลยว่าควันไฟก็จะถูกตัดออกไม่มาบังไฟด้านล่างอีกแล้ว ดังนั้นวิธีการนี้มีประโยชน์เป็นอย่างมาก ในการตรวจสอบไฟที่กำลังลุกไหม้ รวมถึงพื้นที่เสียหายที่ไหม้ไปแล้วได้อย่างดีเลย นะครับ
ฮั่นแน่!!! ใครที่มีทริกเผาป่าหนีดาวเทียม ที่เรียกกันง่าย ๆ ว่าจุด Hotspot ทั้งจากเซนเซอร์ MODIS หรือ​ VIIRs ก็ยังมีดาวเทียมดวงอื่นๆ ที่ยังสามารถติดตามการเผาป่าได้อยู่นะครับ รักษ์ป่ารักษ์โลกไม่เผาป่ากันนะครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้