ทำไมคำว่า ริกเตอร์ จึงไม่ถูกใช้ในการรายงานข่าวแผ่นดินไหวแล้ว ?

Last updated: 14 มี.ค. 2566  |  646 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำไมคำว่า ริกเตอร์ จึงไม่ถูกใช้ในการรายงานข่าวแผ่นดินไหวแล้ว ?

  สังเกตกันไหมครับ  ปัจจุบันการรายงานข่าวขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหว ไม่มีหน่วยต่อท้ายและถูกใช้งานตามหลักสากลทั่วโลกแล้ว

 เนื่องจากเรามักจะได้เห็น การใช้ ริกเตอร์ (Richter) ห้อยท้ายเมื่อการรายงานข่าวถึงขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหวกันบ่อย ๆ 


  คำว่าริกเตอร์ถูกใช้เพื่อเป็นเกียรติให้กับนักวิทยาศาสตร์คนแรก ๆ ที่คิดวิธีวัดและคำนวณขนาดแผ่นดินไหวออกมาเป็นตัวเลข คือ เบโน กูเทนเบิร์ก (Beno Gutenbreg) และ ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ (Charles Francis Richter)

ต่อมามีอีกหลายวิธีคำนวณหน่วยวัดขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหวแบบต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น มาตราคลื่นตัวกลาง หรือ mb และมาตราโมเมนต์ หรือ Mw

ดังนั้นเพื่อกันความสับสนว่า ริกเตอร์ เป็นหน่วยสำหรับการวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว และให้เกียรตินักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหวท่านอื่น ๆ การรายงานขนาดแผ่นดินไหวในปัจจุบันจึงตัดคำว่า ริกเตอร์ ทิ้งไปครับ เช่น 'เกิดเหตุแผ่นดินไหวในไต้หวัน ขนาด 6.6 วันนี้' (23 มี.ค.65) เป็นต้น

อ้างอิงข้อมูล:
1. mitrearth.org
2. Thaipbs

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้