ClimeWatch (การวิเคราะห์และสังเกตการณ์พื้นที่ประสบภัยพิบัติ)
 
โดยการนำเทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจทรัพยากร (Earth Observation Satellite) ร่วมกับ Big Data, Artificial Intelligence, Machine Learning, Data Analytics, และภูมิศาสตร์ (Geographic Information system: GIS) มาใช้ตรวจสอบพื้นที่ประสบภัยพิบัติ ได้แก่ ภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง และอุทกภัย ในรายพื้นที่ ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด ร่วมกับการสำรวจแบบเดิม (เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหาย) จะทำให้สามารถ ตรวจสอบภัยพิบัติ ได้ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว ครอบคลุมพื้นที่เสียหายจริง และยังใช้งบประมาณลดน้อยลงด้วย อีกทั้งการค้นหา และแสดงผลพื้นที่เสี่ยงเกิดภัยพิบัติ เช่น อุทกภัยซ้ำซาก หรือภัยแล้งซ้ำซาก ก็จะทำให้ประชาชนหรือหน่วยงานภาครัฐ มีข้อมูลในการวางแผน รับมือกับภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
 

ระบบตรวจสอบพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม (Flood Detection)

 

การตรวจสอบพื้นที่น้ำท่วม โดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม SAR (Synthetic Aperture Radar) นำมาประมวลผล แสดงข้อมูลพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม

 

 


image
image
ตัวอย่าง การวิเคราะห์พื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม จังหวัดนครสวรรค์ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 
พบว่ามีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 221,884 ไร่
 
อำเภอ
พื้นที่น้ำท่วม (ไร่)
ชุมแสง118,460.07
ท่าตะโก48,467.50
เมืองนครสวรรค์21,098.38
โกรกพระ13,581.96
พยุหะศีรี10,147.80
เก้าเลี้ยว
6,374.33
บรรพตพิสัย1,748.39
ลาดยาว734.52
หนองบัว571.94
แม่เปิน491.40
ไพศาลี107.44
ชุมตาบง53.66
แม่วงค์46.69
 พื้นที่น้ำท่วมทั้งหมด221,884.07 ไร่

ระบบตรวจสอบพื้นที่ประสบภัยแล้ง (Drought Detection)


ตรวจสอบพื้นที่ประสบภัยแล้ง ด้วยข้อมูลจากดาวเทียม และนำมาวิเคราะห์และประมาณผลโดยการใช้ Artificial Intelligence (AI) และ Machine Learning (ML)
ตัวอย่าง พื้นที่ประสบภัยแล้ง ตำบลหนองบัวสะอาด อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา 

การวิเคราะห์ภัยแล้ง เปรียบเทียบ ปี 2562 และ ปี 2563

 

* กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประกาศภาวะ"ฝนแล้ง" วันที่ 5 สิงหาคม 2562

image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้