ไทยคมและคปภ. ร่วมมือวิเคราะห์ข้อมูลในงานประกันภัยข้าวนาปี

Last updated: 16 มี.ค. 2566  |  650 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไทยคมและคปภ. ร่วมมือวิเคราะห์ข้อมูลในงานประกันภัยข้าวนาปี

   ไทยคมและสมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมกันพัฒนาระบบเทคโนโลยีจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากร Earth Observation (EO) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในงานประกันภัยข้าวนาปี

   โดยโครงการนี้ มีจุดเริ่มต้นมาจากการที่ประเทศไทย ทำโครงการประกันภัยข้าวนาปี มาตั้งแต่ปี 2554 และในปี 2565 นี้ โครงการ ฯ ได้รับการอนุมัติงบประมาณจากรัฐบาล 1.9 พันล้านบาท เพื่อช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติให้กับเกษตรกร ผู้เพาะปลูกข้าวนาปี เช่น ภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง อุทกภัย และภัยอื่นๆ นะครับ
   ซึ่งเมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้น และแปลงข้าวของเกษตรกรได้รับความเสียหาย การประเมินความเสียหาย โดยใช้แรงงานคน จะใช้ระยะเวลานาน ทำให้เกษตรกรได้รับเงินเยียวยาล่าช้า เช่น มากกว่า 90 วัน ทำให้ต้นทุนที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น เช่น ต้นทุนที่เกิดขึ้น เนื่องจากการกู้ยืม เพื่อนำมาใช้ในการเพาะปลูกหรือยังชีพ ระหว่างรอเงินชดเชย
   โครงการนำร่องนี้ ทำในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ ขอนแก่น นครราชสีมา นครสวรรค์ นครศรีธรรมราช ร้อยเอ็ด สุโขทัย โดยได้กำหนดให้เป็นพื้นที่นวัตกรรมและข้อมูล (Sandbox Areas) รวม 3 ล้านไร่
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจ ร่วมกับ Artificial Intelligence (AI), Machine Learning (ML), และ Big Data ทำให้สามารถแสดงผลเป็นข้อมูลพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจาก ฝนทิ้งช่วง ภัยแล้ง น้ำท่วม ซึ่งข้อมูลนี้จะสามารถนำไปใช้ในการวางแผนบริหารจัดการ โครงการประกันภัยข้าวนาปีได้อย่างรวดเร็ว ครอบคลุม และเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น และยังสามารถต่อยอด ขยายผล ไปพืชอื่นๆ ได้อีกด้วยนะครับ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอื่น ๆ อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหา การระบุความคลาดเคลื่อนของพื้นที่ประสบภัยได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว รวมถึงการประเมินความเสียหาย และการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับเกษตรกร ผู้ทำประกันภัย ก็จะมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นด้วย

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ https://www.prachachat.net/finance/news-983561 

   ในอนาคตพื้นที่ประสบภัยพิบัติอาจจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Climate Change) ซึ่งจะทำให้ต้นทุนของเกษตรกรที่เกิดขึ้นในระบบประกันภัยรูปแบบเดิม เพิ่มสูงขึ้นด้วยในอัตราเดียวกัน ดังนั้นการนำเทคโนโลยีมาใช้จะยิ่งมีความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น อีกทั้งการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดระยะเวลาในการจ่ายเงินชดเชย จะช่วยให้ชาวนาลดต้นทุนการบริหารเงินสด ซึ่งเพียงเท่านี้ก็ถือว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจแล้วนะครับ

   ถ้ามีการแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูล และความคืบหน้าของโครงการยังไง เราจะนำมาอัปเดตให้ทุกคนได้ทราบนะครับ



Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้